ซิโมน่า ฮาเล็ป อดีตนักเทนนิสหญิงอันดับ1 โลกชาวโรมาเนีย ถูกห้ามยุ่งเกี่ยวกับวงการเทนนิสจากการตรวจสารกระตุ้นพบสารโรซ่าดัสแตท ตั้งแต่การแข่งขันยูเอส โอเพ่น เมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา
โดยฮาเล็ปพร้อมต่อสู้กับข้อกล่าวหานี้ โดย The Sporting News พร้อมรายงานทุกสถานการณ์ของฮาเล็ปทุกระยะ
จุดเริ่มต้นแห่งการโดนแบน
ฮาเล็ปเข้าตรวจสารกระตุ้นพบสารโรซ่าดัสแตท หลังเกมยูเอส โอเพ่น รอบแรกที่แพ้ดาเรีย สนิกูร์จากยูเครน ตั้งแต่วันที่ 29 สิงหาคมที่ผ่านมา ซึ่งสารนี้เป็นต้องห้ามตามหน่วยงานด้านความซื่อสัตย์ของเทนนิสระดับนานาชาติ (ITIA) ระบุไว้ ทำให้ฮาเล็ปไม่สามารถลงสนามในรายการเทนนิสทุกรายการจนกว่าจะมีผลสิ้นสุด
“ระหว่างที่โดนแบน ห้ามนักเทนนิสเข้าร่วมรายการเทนนิสทุกรายการที่องค์กรด้านเทนนิสจัดการแข่งขัน” ส่วนหนึ่งจากแถลงการณ์ของ ITIA
ซึ่งมาเรีย ชาราโปว่า เป็นนักเทนนิสระดับมือวางต้นๆของโลก ที่ถูกแบนจากการใช้สารกระตุ้นเมื่อปี 2016
ฮาเล็ปตอบโต้
ฮาเล็ปได้แถลงผ่านทวิตเตอร์ส่วนตัวของเธอ ว่าเธอพร้อมต่อสู้ทุกข้อกล่าวหา เพราะเธอใช้สารโรซ่าดัสแตทในปริมาณที่น้อย
“ตลอดชีวิตการเป็นนักเทนนิสของฉัน ฉันไม่เคยคิดจะทำอะไรขี้โกงแม้แต่ครั้งเดียว การตัดสินครั้งนี้คัดค้านค่านิยมที่ฉันได้เรียนรู้มา ฉันพร้อมต่อสู้กับความอยุติธรรม เพราะฉันรู้สึกสับสนเหมือนถูกหักหลัง”
“ฉันจะพิสูจน์ให้เห็นว่าฉันไม่เคยใช้สารกระตุ้น และฉันเชื่อว่าความจริงจะปรากฎ”
“เรื่องนี้ไม่มีเงินหรือความสำเร็จมาเกี่ยวข้อง เป็นเรื่องของศักดิ์สิทธิ์ล้วนๆ เพราะฉันเติบโตมากับเทนนิสตลอด 25 ปี” ฮาเล็ปโพสต์
— Simona Halep (@Simona_Halep) October 21, 2022
ยาต้านโลหิตจาง
โรซ่าดัสแตทเป็นสารที่กระตุ้นการทำงานของโลหิตที่ใช้เป็นยาต้านโรคโลหิตจางสำหรับผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ซึ่งสารนี้ช่วยให้ร่างกายผลิตสารอีริโทรโพอิติน ซึ่งเป็นฮอร์โมนธรรมชาติที่นักกีฬาส่วนใหญ่พยายามใช้เพื่อพัฒนาศักยภาพของตนเองในหลายๆปีที่ผ่านมา
สหภาพยุโรปได้อนุมัติให้ใช้โรซ่าดัสแตทในทางการแพทย์ตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2021
ความสำเร็จของฮาเล็ป
ฮาเล็ปคว้าแชมป์แกรนด์สแลม 2 ครั้ง ได้แก่เฟรนช์ โอเพ่นในปี 2018 และวิมเบิลดันในปี 2019 และขึ้นเป็นอันดับ 1 ของโลกในปี 2017 และ 2018
หลังจากได้รับบาดเจ็บ ฮาเล็ปทำผลงานได้ดีที่สุดในรายการแกรนด์สแลมเพียงแค่รอบรองชนะเลิศ ทั้งออสเตรเลียน โอเพ่น (2020) และวิมเบิลดัน (2022)